ไลฟ์สไตลส์ ธุรกิจเพื่อวิถีชีวิตที่ดีขึ้นในทุก ๆ วัน สุขภาพดี มีรายได้ ชีวิตที่คุณเลือกได้

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)
   Main webboard   »   ความรู้เรื่องสุขภาพ
 ย้อนกลับ  |    
Started by
Topic:   โรคเบาหวาน  (Read: 24392 times - Reply: 43 comments)   
ธนิต (Admin)

Posts: 10 topics
Joined: 2/6/2552

โรคเบาหวาน
« Thread Started on 6/9/2552 20:55:00 IP : 124.120.163.3 »
 

โรคเบาหวาน

 

เบาหวานมีอาการอย่างไรบ้าง

อาการที่สำคัญ ของเบาหวาน คือ ปัสสาวะบ่อยขึ้น โดยเฉพาะกลางคืน ทานน้ำบ่อยขึ้น กินเก่งขึ้น แต่น้ำหนักลดลง แต่บางรายก็ไม่มีอาการ ตรวจพบได้โดยบังเอิญ

แพทย์จะวินิจฉัยเบาหวานได้อย่างไร

การวินิจฉัยเบาหวาน ทำได้โดยการเจาะระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น โดยให้งดอาหารก่อนเจาะเลือด 8 ชั่วโมง

ถ้าระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่า 126 มก./ดล.ให้เจาะซ้ำอีกครั้ง ถ้ายังคงสูงกว่า 126 มล./ดล. อีกก็ถือว่าเป็นเบาหวาน ( ค่าปกติของระดับน้ำตาลในเลือดจะอยู่ระหว่าง 70 - 110 มล./ดล. )

แต่ถ้ามีอาการดังกล่าวข้างต้น แล้วเจาะเลือดโดยไม่ต้องอดอาหาร แล้วระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 200 มก./ดล. ก็ถือว่าเป็นเบาหวานเช่นกัน


ใครบ้างมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน/ผู้ที่ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

1. คนอ้วน

2. คนที่มีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัวสายตรง

3. หญิงที่เคยคลอดบุตรตัวโต มากกว่า 4 กก.

4. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

5. คนที่เคยมีประวัติของการตรวจความทนน้ำตาลกลูโคส แล้วผิดปกติ


" แนะนำให้ประชาชนทั่วไป ที่มีอายุเกิน 45 ปี ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อหาความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ทุก 3 ปี "

เรารักษาเบาหวานไปเพื่ออะไร
จุดประสงค์ของการรักษาเบาหวาน คือ

1. แก้ไขภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลันที่เกิดจากระดับน้ำตาลสูงมาก จนอาจ หมดสติ

2. แก้ไขอาการของเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด ฯลฯ

3. ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากเบาหวาน โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดตีบตัน เช่น อัมพาต โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคไตวาย แผลเรื้อรัง การอุดตันของหลอดเลือดแขนขา รวมทั้ง เบาหวานขึ้นตา และต้อกระจกด้วย
 


การควบคุมเบาหวานที่ดี คือ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลหลังงดอาหารได้น้อยกว่า 120 มก./ดล.

 

การรักษาโรคเบาหวานทำอย่างไร

ผู้ป่วยมีส่วนสำคัญในการรักษามากกว่าแพทย์ การดูแลตนเองที่ถูกต้อง จะช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี และไม่มีโรคแทรกซ้อน

1. การควบคุมอาหาร
เลือกทานอาหารที่มีความหวานต่ำ ปรับสัดส่วนอาหารให้เหมาะสม จะทำให้การดูดซึมกลูโคสช้าลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้

2. การให้ยารับประทาน ยารับประทานจะช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ทำให้มีการใช้  กลูโคสมากขึ้น ลดการสร้างกลูโคสใหม่ในร่างกาย และยับยั้งการดูดซึมกลูโคส ทำให้ระดับน้ำตาลต่ำลงได้

3. การฉีดอินซูลิน  เพื่อทดแทนอินซูลินที่ขาดไป อินซูลินจะพากลูโคสเข้าไปใช้ในเนื้อเยื่อร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลลดลงได้

4
. การออกกำลังกาย ทำให้มีการใช้พลังงาน และจะทำให้ระดับน้ำตาลลดลงได้


" การจะเลือกใช้วิธีการรักษาแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค "



ที่มาของข้อมูล :

กระทรวงสาธารณสุข  

 

อาหารผู้ป่วยเบาหวานนั้น อาจแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ประเภทคือ

ประเภทที่ 1 ห้ามรับประทาน

ขนมหวาน เช่น ทองหยอด  สังขยา ลอดช่อง เชื่อม เค้ก ช็อกโกแลต ไอศกรีม และขนมหวานอื่น ๆ น้ำตาลเทียม

น้ำอัดลม  โอเลี้ยง เครื่องชูกำลัง นมข้นหวาน น้ำเกลือแร่ ควรดื่มน้ำเปล่า น้ำชาไม่ใส่น้ำตาล

ดื่มกาแฟ ควรดื่มกาแฟดำ ไม่ควรใส่น้ำตาล นมข้นหวาน หรือครีมเทียม (เช่น คอฟฟี่เมท ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกูลโคส 58 % น้ำมันปาล์ม 33 % ) ควรใส่นมจืดพร่องไขมัน หรือน้ำตาลเทียมแทน

ควรดื่มนมจืด พร่องไขมัน นมเปรี้ยวส่วนใหญ่ไม่ใช่ นมพร่องไขมัน และมีน้ำตาลอยู่ด้วยประมาณ 15 % เป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกับนมถั่วเหลือง

ถ้าดื่มน้ำอัดลม ควรดื่มน้ำอัดลมที่ใส่น้ำตาลเทียม เช่น เป๊ปซี่ โค้ก เป็นต้น

 ประเภทที่ 2 รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน

ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น  ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ฝักบุ้ง ถั่วงอก ทำเป็นอาหาร ตัวอย่าง เช่น ต้ำจืด สลัด ผัดผัก เป็นต้น อาหารเหล่านี้มีสารอาหารต่ำ นอกจากนั้นยังมีกากอาหารที่เรียกว่า ไฟเบอร์ ซึ่งทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง

ประเภทที่ 3 รับประทานได้แต่จำกัดจำนวน

อาหารพวกแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ถ้าผู้ป่วยไม่อ้วนมาก เนื่องจากลดอาหารจำพวกแป้ง ทำให้ต้องเพิ่มอาหารพวกไขมัน ซึ่งเป็นผลให้ระดับไขมันสูง และเพิ่มเนื้อสัตว์ทำให้หน้าที่ขอไตเสียไปเร็วขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคไตร่วมด้วย ดังนั้นจึงควรเลือกรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพโดยคำนึงถึงปัจจัย 2 อย่างคือ

1. ปริมาณไฟเบอร์ (เส้นใยอาหาร) ทำให้การดูดซึมอาหารช้าลงจึงควรรับประทานอาหาร
2. ไกลซีมิค อินเดกซ์ (glycemic index)

การจัดอาหารผู้ป่วยเบาหวานนั้น ควรกะโดยประมาณให้มีสัดส่วนดังนี้คือ

หมวดนมวันละ------------------- 2-3 ส่วน
หมวดเนื้อสัตว์วันละ----------- 2-3 ส่วน
หมวดข้าว และแป้งวันละ------- 6-11 ส่วน
หมวดผักวันละ ------------------- 3-5 ส่วน
หมวดผลไม้วันละ--------------- 2-4 ส่วน
หมวดไขมัน ครีม ของหวานน้อยที่สุด

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ
1. ไขมันสูงปกติอาหารเบาหวานนั้น ควรจะมีไขมันต่ำอยู่แล้ว รวมทั้วโคเลสเตอรอลที่ต่ำลง ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาไขมันสูง และมีโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดสมองต้องลดปริมาณไขมันและโคเลสเตอรอลลงไปอีก
2. โรคไต ผู้ป่วยที่มีโรคไตนั้น ควรจำกัดปริมาณโปรตีนให้น้อยลง คือ มีสัดส่วนประมาณ 10 % ของแคลอรี่ทั้งหมด 

 โดย...ร.ศ.นพ. วิทยา ศรีดามา
ภาควิชาอายุรศาสัตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ควรใช้คู่กับอาหารเสริมเป็นแบบเมเลกุลเดียว เพื่อเสริมประสิทธิภาพของยา

เพิ่มเติม http://tha.lifestyles.net/thai/home.html

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: โรคเบาหวาน
จำนวนข้อความทั้งหมด:  12
1
2
>
แสดงความคิดเห็น
Roby

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 12  « on 19/11/2556 15:57:00 IP : 200.198.252.200 »     Edit Topic
Re: โรคเบาหวาน
 
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Marlien

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 11  « on 17/11/2556 5:56:00 IP : 137.222.106.52 »     Edit Topic
Re: โรคเบาหวาน
 
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Jera

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 10  « on 16/11/2556 11:25:00 IP : 147.228.167.46 »     Edit Topic
Re: โรคเบาหวาน
 
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Barezy

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 9  « on 15/11/2556 22:30:00 IP : 198.245.51.165 »     Edit Topic
Re: โรคเบาหวาน
 
Wow! Great to find a post with such a clear messgae!
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Priscila

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 8  « on 12/11/2556 21:02:00 IP : 188.143.232.12 »     Edit Topic
Re: โรคเบาหวาน
 
You put the lime in the coucnot and drink the article up.
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Arun

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 7  « on 12/11/2556 19:46:00 IP : 188.143.232.12 »     Edit Topic
Re: โรคเบาหวาน
 
Knocked my socks off with kndelwoge!
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Narvada

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 6  « on 12/11/2556 18:22:00 IP : 188.143.232.12 »     Edit Topic
Re: โรคเบาหวาน
 
That's a posting full of inhtsgi!
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Geri

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 5  « on 12/11/2556 17:52:00 IP : 188.143.232.12 »     Edit Topic
Re: โรคเบาหวาน
 
A really good answer, full of raynliaoitt!
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Mohit

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 4  « on 12/11/2556 17:19:00 IP : 188.143.232.12 »     Edit Topic
Re: โรคเบาหวาน
 
Sharp thiignnk! Thanks for the answer.
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
King

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 3  « on 10/11/2556 17:28:00 IP : 188.143.232.12 »     Edit Topic
Re: โรคเบาหวาน
 
When you think about it, that's got to be the right anerws.
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
2
>
Reply topic :: แสดงความคิดเห็น
ชื่อผู้โพสต์:  เช่น John
ภาพไอคอน:
icon
แปะรูป:
 
รายละเอียด:
Emotion:




Security Code:
Verify Code 
 
   Bookmark and Share
   Main webboard   »   ความรู้เรื่องสุขภาพ
 ย้อนกลับ  |    
Advertising Zone    Close

Online: 2 Visits: 403,817 Today: 26 PageView/Month: 1,204

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...